วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจการผลิตไม้ยางพาราของประเทศไทย ปี 2542

เศรษฐกิจการผลิตไม้ยางพาราของประเทศไทย ปี 2542


 
 
ผู้วิจัย    นายชัยภัทร์ รัชคุปต์
 
สังกัด    ส่วนวิจัยพืชไร่นา สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
 
โทร        (02) 579-0611
 
โทรสาร   (02) 579-0611
 
Email     chaipat@oae.go.th 
                        

 
นโยบายส่งเสริมการปลูกยางพาราของประเทศที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตจากน้ำยางเป็นหลัก อาทิ ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาพันธุ์ยางที่ให้น้ำยางสูง และสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกยางพาราพันธุ์ดี จนปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศ 12.37 ล้านไร่ ให้ผลผลิตยางธรรมชาติ 2.22 ล้านตัน สามารถรองรับความต้องการใช้ยางของภาค อุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนตัน และในปี 2542 มีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติ 2.03 ล้านตัน สร้างรายได้จากการส่งออก 43,965 ล้านบาท แต่หลังจากรัฐมีนโยบายยกเลิกการให้สัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ ในปี 2532 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนไม้ภายในประเทศ ต้องนำเข้าไม้จากประเทศเพื่อนบ้านและมีราคาแพง ขณะเดียวกันไม้ยางพาราเริ่มมีบทบาทสำคัญเป็นไม้ทดแทนไม้เนื้อแข็งจากป่าธรรมชาติและมีความต้องการใช้มากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ เนื่องจากมีราคาถูกและเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ส่งผลให้ไม้ยางที่ได้จากการโค่นสวนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้โครงสร้างรายได้และการลงทุนจากการทำสวนยางเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบต่ออายุการตัดโค่นสวนยางที่เหมาะสมต่างไปจากเดิม ดังนั้นการศึกษานี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอายุตัดโค่นสวนยางแล้วปลูกใหม่ที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ หลังจากนั้นประเมินผลผลิตไม้ยางพาราที่จะได้จากการโค่นสวนยางตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจโค่นสวนของเกษตรกร โดยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจสูงสุด และการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากยางพาราอย่างเหมาะสมต่อไป
 
 

สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2940-5550 - 1, 0-2940-5553 - 4, 0-2940-5556 - 9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น