วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตำบล Sufficiency Economy Philosophy in Sub-district Administration Organization


       บทคัดย่อ
ชื่อรายงานการวิจัย : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตำบล
ชื่อผู้วิจัย : กาญจนา บุญยัง เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ อุษณากร ทาวะรมย์
เดือน ปีที่ทำวิจัยแล้วเสร็จ : เมษายน 2552
การศึกษาเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตำบล มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหาร
ส่วนตำบล ศึกษานโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้
ในการปฏิบัติ เสนอแนวทางการนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และเสนอแนวทางการส่งเสริมปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้แก่ภาคประชาชน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับ
การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ องค์การบริหารส่วนตำบล
ทั่วประเทศ จำนวน 440 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก อบต.
11 แห่ง และอภิปรายกลุ่ม จำนวน 3 แห่ง ผลการศึกษา พบว่า
อบต. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น อบต. ขนาดเล็ก โดยผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็น
ตัวแทนของ อบต. ส่วนใหญ่เป็น ปลัด อบต. รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและ
แผน ผลการศึกษา พบว่า อบต. มีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การบริหารงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน อบต. มี
การวางแผนโดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เน้นการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนผ่านกระบวนการประชาคม ด้านการจัดองค์การและการจัดระเบียบงาน พบว่า
การจัดโครงสร้างการบริหารงานของ อบต. มีความชัดเจน แต่ อบต. อาจต้องจัดองค์การให้
มีความยืดหยุ่น ตลอดจนกำหนดแนวทางการบริหารเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับ
อบต. มากขึ้น ด้านการดำเนินงาน พบว่า อบต. คำนึงถึงการดำเนินงานตามแผนงาน
ที่กำหนดไว้ และพยายามดำเนินงานโดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือจากประชาชนและ
หน่วยงานต่างๆ ด้านการติดตามและประเมินผล พบว่า อบต. มีรูปแบบการประเมินผล
ที่ชัดเจน และเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมทั้งเครือข่ายร่วมติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน
(2)
ส่วนนโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การปฏิบัติพบว่า อบต. มีแผนการส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตแต่อบต. มากกว่าครึ่งไม่มีการสอดแทรกหลักเศรษฐกิจ
พอเพียงในกิจกรรม /โครงการ กรณีของ อบต. ที่มีนโยบายในการส่งเสริมให้ประชาชนนำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัตินั้น จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้
ประชาชนหรือสมาชิกกลุ่มต่างๆ พึ่งตนเองได้ ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน
กลุ่มเครือข่าย และหน่วยงานในพื้นที่
เมื่อพิจารณาการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การปฏิบัติตามกรอบแนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านการจัดการ พบว่า ด้านโครงสร้าง
องค์การ อบต. ส่วนใหญ่ไม่มีการแต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบโดยตรง กลไกการเผยแพร่
ความรู้ ส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก กลยุทธ์ที่ใช้ คือ
การประชาสัมพันธ์ การจัดศูนย์การเรียนรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้ประชาชน
ด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรของ อบต. เต็มใจที่จะส่งเสริม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านงบประมาณ พบว่า อบต. มากกว่า ร้อยละ 50
จัดสรรงบประมาณปี 2550 และ 2551 เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และมีแนวโน้มจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นงบประมาณของ
อบต. ทั้งหมด ด้านสถานที่ พบว่า อบต. มีสถานที่ที่เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ไม่เพียงพอ
ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ พบว่า อบต. ส่วนใหญ่มีวัสดุอุปกรณ์และและ
เครื่องมือเครื่องใช้แต่ยังไม่เพียงพอ สื่อที่ใช้ประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่ใช้เสียงตามสาย
สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ไปใช้ในชีวิตประจำ วัน พบว่า อบต. ประสบปัญหาด้านโครงสร้างองค์การ
ขาดผู้รับผิดชอบงานโดยตรง มีงบประมาณจำกัด ขาดวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ บุคลากร
ขาดความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดให้ประชาชนได้เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ดังนั้น อบต. จึงต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐโดย (1) จัดอบรมให้แก่บุคลากร
ของ อบต. (2) จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชน
(3) จัดสรรงบประมาณเฉพาะกิจเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง
กลไกการส่งเสริมให้ อบต. นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน
การบริหารงานและส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
คือ (1) ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น