วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การผลิตและการตลาดปาล์มนํ้ามันของเกษตรกรในพืน้ ที่ภาคใต้ THE PRODUCTION AND MARKETING OF PALM OIL IN THE SOUTH OF THAILAND


บทคัดย่อ
โครงการการผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์
ที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาถึงการผลิตและรายรับจากการผลิตปาล์มน้ำมันของ
เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ (2) เพื่อศึกษาการตลาดของปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้
และ (3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาด้านการผลิต และการตลาดปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้
ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษาทั้งหมดรวบรวมจากเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ที่
เกี่ยวข้อง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ การศึกษานี้ได้เลือกใช้วิธีการวิเคราะห์เชิง
พรรณนาและเชิงปริมาณ
ผลการศึกษา สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้แหล่งเงินทุนของ
ตนเอง มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันน้อยกว่า 20 ไร่ และมีระบบการผลิตแบบคละเกรด และส่วนใหญ่
ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมัน ส่วนในระบบการผลิตปัจจุบันกลุ่มตัวอย่าง
ยังคงพึ่งพาฝนตามฤดูกาลหรือน้ำตามธรรมชาติ และใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการกำจัดวัชพืช สำหรับรายรับ
จากการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีปริมาณผลผลิต
ปาล์มน้ำมันระหว่าง 5,000-25,000 กิโลกรัม ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 สามารถเก็บผลผลิตปาล์มน้ำมัน
11- 20 ครั้ง ส่วนราคาผลผลิตปาล์มจากแหล่งรับซื้อต่อกิโลกรัมในราคา 3.10- 4.00 บาท โดยมี
พ่อค้ารับมารับซื้อ
ปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จำนวนปุ๋ยเคมี
ทั้งหมดที่เกษตรกรใช้ในการผลิตปาล์มน้ำมัน (กิโลกรัม/ไร่) ที่ความเชื่อมั่น 0.01 และจำนวน
ชั่วโมงในการทำงานทั้งหมดของเจ้าของและแรงงานจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต (ชั่วโมง/ไร่)
ที่ความเชื่อมั่น .05 โดยมีค่า R2=0.315 แสดงถึงฟังก์ชันการผลิตนี้มีผลต่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน
ร้อยละ 31.5 และ Sig F =.000 ซึ่งเป็นไปตามมติฐานการที่ตั้งไว้ คือปัจจัยการผลิตของเกษตรกร
มีความสัมพันธ์กับปริมาณผลผลิตที่ได้รับ
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผลิตปาล์มน้ำมัน พบว่า บางพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำในการ
ผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งพื้นที่สูงชันยากต่อการติดตั้งระบบน้ำ ในช่วงที่มีผลผลิต
ล้นตลาดโรงงานจะไม่รับซื้อปาล์มน้ำมัน ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบอย่างหนักเพราะผลผลิต
สุกเป็นประจำทุกเดือนจึงทำให้ขาดรายได้ และการจ้างคนงานเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมัน
มีค่าจ้างค่อนข้างสูงเกินไป จึงส่งผลให้ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันได้รับผลกระทบโดยตรง นอกจากนี้
ยังพบว่าต้นทุนในการผลิตปาล์มน้ำมันมีอัตราที่สูง กล่าวคือ ราคาปุ๋ยสูงขึ้นแต่ราคาผลผลิตปาล์ม
น้ำมันต่ำลง อีกทั้งราคาปาล์มน้ำมันไม่คงที่ มีราคาถูก และเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่แจ้งล่วงหน้า
นอกจากนี้ ไม่มีการประกันราคาให้กับเกษตรกร ส่งผลให้พ่อค้าคนกลางจึงสามารถตั้งราคา
ปาล์มน้ำมันได้เอง ทำให้เกษตรกรเสียเปรียบต่อผู้รับซื้อปาล์มน้ำมันและขาดการแข่งขันกันทาง
การตลาดรับซื้อ
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ คือ ควรเพิ่มแหล่งน้ำให้เพียงพอในการทำเกษตร
ในอนาคต เช่น ควรมีระบบชลประทานหรือแหล่งน้ำทางด้านการเกษตร การเก็บเกี่ยวผลผลิตควร
ตัดแต่งทางปาล์มน้ำมันให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว สำหรับในการจ้างคนงานควรจ้างบุคคลที่ไว้ใจ
ได้เพราะลูกจ้างอาจนำผลผลิตบางส่วนไปขายจึงทำให้เจ้าของขาดทุน สำหรับราคาที่ไม่แน่นอน
นั้น ควรให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงหรือช่วยเหลือเรื่องของการประกันราคาปาล์มน้ำมันให้มีราคา
ที่พอดีและคงตัวเหมาะสมกับการลงทุน และควรให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกลุ่มหรือ
สหกรณ์เพื่อเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นและเป็นการผลักดันให้เกิดการแข่งขันระหว่าง
พ่อค้าคนกลางเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ควรกระจายแหล่งรับซื้อโดยมีทั้งหน่วยงาน สหกรณ์
โรงงาน และพ่อค้าคนกลางเข้ามาอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ แหล่งรับซื้อควรมีความมั่นคง
น่าเชื่อถือ โดยมีหน่วยงานรับรองว่าได้มาตรฐาน และมีการกำหนดราคากลางให้ชัดเจน ตลอดจน
การส่งเสริมให้มีการแข่งขันระหว่างพ่อค้าคนกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น