วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจการผลิตไม้ยางพาราของประเทศไทย ปี 2542

เศรษฐกิจการผลิตไม้ยางพาราของประเทศไทย ปี 2542


 
 
ผู้วิจัย    นายชัยภัทร์ รัชคุปต์
 
สังกัด    ส่วนวิจัยพืชไร่นา สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
 
โทร        (02) 579-0611
 
โทรสาร   (02) 579-0611
 
Email     chaipat@oae.go.th 
                        

 
นโยบายส่งเสริมการปลูกยางพาราของประเทศที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตจากน้ำยางเป็นหลัก อาทิ ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาพันธุ์ยางที่ให้น้ำยางสูง และสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกยางพาราพันธุ์ดี จนปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศ 12.37 ล้านไร่ ให้ผลผลิตยางธรรมชาติ 2.22 ล้านตัน สามารถรองรับความต้องการใช้ยางของภาค อุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนตัน และในปี 2542 มีปริมาณส่งออกยางธรรมชาติ 2.03 ล้านตัน สร้างรายได้จากการส่งออก 43,965 ล้านบาท แต่หลังจากรัฐมีนโยบายยกเลิกการให้สัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ ในปี 2532 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนไม้ภายในประเทศ ต้องนำเข้าไม้จากประเทศเพื่อนบ้านและมีราคาแพง ขณะเดียวกันไม้ยางพาราเริ่มมีบทบาทสำคัญเป็นไม้ทดแทนไม้เนื้อแข็งจากป่าธรรมชาติและมีความต้องการใช้มากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ เนื่องจากมีราคาถูกและเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ส่งผลให้ไม้ยางที่ได้จากการโค่นสวนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้โครงสร้างรายได้และการลงทุนจากการทำสวนยางเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบต่ออายุการตัดโค่นสวนยางที่เหมาะสมต่างไปจากเดิม ดังนั้นการศึกษานี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอายุตัดโค่นสวนยางแล้วปลูกใหม่ที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ หลังจากนั้นประเมินผลผลิตไม้ยางพาราที่จะได้จากการโค่นสวนยางตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจโค่นสวนของเกษตรกร โดยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจสูงสุด และการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากยางพาราอย่างเหมาะสมต่อไป
 
 

สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2940-5550 - 1, 0-2940-5553 - 4, 0-2940-5556 - 9

บทคัดย่อผลงานวิจัย ชุดโครงการวิจัยเห็ดหลินจือ และ สปอร์เห็ดหลินจือในประเทศไทย


การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือในโครงการ
พิเศษสวนเกษตรเมืองงายฯ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ปี
๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓
รัตนา โพธิสุวรรณ๑, ลือชา วนรัตน์๒, อำนาจ เดชะ๓, ธีระยุทธ อินต๊ะเสน๔, นิมิตร รอดภัย๕
๑คณะเศรษฐสาตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
๒ที่ปรึกษากรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ๓พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
จ.เชียงใหม่
๔โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย ฯ จ.เชียงใหม่ ๕ฟาร์มเห็ดรุจิรา จ.กาฬสินธุ์
หลักการและเหตุผล กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้จัดทำ
โครงการวิจัยเห็ดและสปอร์เห็ดหลินจือใน ประเทศไทยปีงบประมาณ ๒๕๕๑-๒๕๕๔
โดยให้มีการศึกษาต้นทุนการผลิตเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนต่อการลงทุน
ในเชิงพาณิชย์ในอนาคตด้วย
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือสายพันธุ์
MG2 ในปีการผลิต ๒๕๕๒ และ๒๕๕๓
วิธีดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิตเห็ดและสปอร์เห็ดหลินจือสายพันธุ์
MG2 ที่ผลิตในโครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๖ โรงเรือนๆ ละ ๔๘
ตารางเมตรโดยใน ปีการผลิต ๒๕๕๒ ผลิต ๓ รุ่น จำนวน ๙๖,๙๘๗ ก้อน และปี
การผลิต ๒๕๕๓ ผลิตรุ่นแรกจำนวน ๓๘,๗๓๖ ก้อน
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ต้นทุนการผลิตคำนวณจากสูตร TC =TFC +TVC โดยที่ TC คือ
ต้นทุนรวมทั้งหมด TFC คือ ต้นทุนคงที่ทั้งหมด TVC คือ ต้นทุนผันแปรทั้งหมด
หลังจากนั้นคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยพื้นที่ ต่อโรงเรือน และต่อก้อนโดยใช้สูตรดังนี้
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ / โรงเรือน / ก้อน = ต้นทุนการผลิตทั้งหมด
พื้นที่โรงเรือน/จำนวนโรงเรือน/จำนวนก้อน

ความสำเร็จของงานวิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง


หลายท่านไม่ทราบว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมากที่สุดในโลกตลอดมา
ไม่ต่ำกว่า 50 ปี เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่จากความบังเอิญ แต่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่เกิด
จากมีนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการวิจัย มีทีมคณะวิจัยที่มุ่งมั่น มีหน่วยงานภาคเอกชนที่สนับสนุนการ
วิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย ตลอดจนมีเกษตรกรผู้ขยันและภาคอุตสาหกรรมสามารถแปรรูปมัน
สำปะหลังตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งจะขอกล่าวดังนี้
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางภาคใต้ของไทยจากการรายงานของทวน คมกฤส ในหนังสือ
กสิกร ปี พ.ศ.2480 พบว่า มีการปลูกมันสำปะหลังที่จังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่หลายพันไร่ เพื่อผลิตแป้ง
ส่งออกไปจำหน่ายยังสิงคโปร์และปีนังก่อนส่งมาจำหน่ายที่กรุงเทพอีกต่อหนึ่ง ในขณะนั้นเริ่มมีความ
พยายามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่พยายามหาพันธุ์ที่ดีโดยนำพันธุ์จากประเทศมาเลเซีย (มาลายู
ในขณะนั้น) และฟิลิปปินส์มาคัดเลือก แต่ไม่พบการรายงานความสำเร็จ
การค้ามันสำปะหลังเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการปลูกเป็นการค้าในภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรีและ
ระยอง สภาพพื้นที่ในเขตนี้สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน ดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่มี
แม่น้ำใหญ่ ไม่เหมาะกับการทำนา แต่มันสำปะหลังสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีการตั้งโรงงานผลิตแป้ง
มันสำปะหลังเพื่อผลิตแป้ง เริ่มปรากฏสถิติการปลูกมันสำปะหลังเป็นทางการในจังหวัดชลบุรีตั้งแต่ปี
พ.ศ.2492 ที่มีพื้นที่ปลูก 102,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 307,000 ตัน เพื่อผลิตแป้งไปจำหน่ายยัง
ต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเริ่มมีการผลิตมันเส้นและ
มันอัดเม็ดสำหรับเป็นอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายไปยังประเทศแถบยุโรปตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2501 เป็นต้นมา
ความต้องการของตลาดยุโรปได้ขยายมากขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของพื้นที่ปลูกจาก 2 แสนไร่
ในปี 2499 เป็นสูงสุดคือ 9.2 ล้านไร่ในปี 2528 พื้นที่ปลูกได้ขยายจากจังหวัดชลบุรีและระยองไปยัง
ภาคต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตก และภาคเหนือ (เจริญศักดิ์, 2532) รวมพื้นที่ปลูก
มันสำปะหลังในปัจจุบันทั้งหมด 45 จังหวัด (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ; www.oae.go.th,
2008)
ในระยะแรกมีการตั้งสถานีทดลองพืชไร่ระยอง ของกรมวิชาการเกษตร และสถานีฝึกงานนิสิต
คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มมีการวิจัยทางด้านดินปุ๋ยตั้งแต่ พ.ศ.2498 และเริ่มมีการนำ
พันธุ์จากประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2508 โดยกรมวิชาการเกษตร จากเวอร์จินไอร์แลนด์ โดยสมาคม
การค้ามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในปี 2525 (พีระศักดิ์ และเจริญศักดิ์, 2529)
ประเทศไทยครองตลาดเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตลอดมา ในอดีตเป็นสินค้าด้าน
การเกษตรเป็นอันดับสองรองจากข้าว และเป็นอันดับหนึ่งในปี 2521 แต่ความสำเร็จโดยสรุปเกิดจาก
4 ประการคือ
1/ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1. การตลาด ภาคเอกชนสามารถสนองความต้องการของตลาดอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าโรงงานแป้ง
โรงงานมันเส้น และโรงงานมันเม็ด
2. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปราศจากโรคและแมลงที่สำคัญดังทวีปอื่น
3. ประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีพันธุ์ระยอง 1 และความรู้พื้นฐานทางด้านการ
เพาะปลูก ดิน-ปุ๋ย
4. เกษตรกรมีความชำนาญและมีความขยันหมั่นเพียร
ความสำเร็จของงานวิจัยและส่งเสริมวิชาการ
ในปัจจุบันผลผลิตมันสำปะหลังของไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก ในอดีตผลผลิตเฉลี่ยของ
ไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2510 – 2540 เฉลี่ยผลผลิตได้ไร่ละ 2.31 ตัน/ไร่ และใน 10 ปีหลัง
ผลผลิตเฉลี่ยได้เพิ่มเป็น 3.66 ตัน/ไร่ ในปี 2550 ขณะที่ปีดังกล่าวผลผลิตเฉลี่ยทั่วโลกเพียง 1.70
ตัน/ไร่ จากการวิเคราะห์พบว่า ผลผลิตมันสำปะหลังไทยที่เพิ่มขึ้นนี้ครึ่งหนึ่งเชื่อว่ามาจากพันธุ์ที่ดี และ
อีกครึ่งหนึ่งมาจากปุ๋ยและการเขตกรรม (Rojanaridpiched and Vichukit, 2008)
ในแง่การแปรรูปของโรงงาน เนื่องจากหัวสดของมันสำปะหลังรุ่นใหม่มีแป้งในหัวสดสูงขึ้นมาก
ทำให้การผลิตแป้งและมันเส้นได้มากขึ้นคือ
ในอดีต
แป้ง 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 4.75 กิโลกรัม
มันเส้น 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 2.35 กิโลกรัม
ปัจจุบัน
แป้ง 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 4.20 กิโลกรัม
มันเส้น 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 2.10 กิโลกรัม
ด้วยประสิทธิภาพในการผลิตวัตถุดิบและแปรรูป ทำให้
1. การปลูกมันสำปะหลังยังคงเป็นอาชีพทางเลือกที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย ทั้งๆ ที่ตลาด
ส่วนยุโรปที่เป็นตลาดที่สำคัญในอดีตมีความต้องการมันสำปะหลังใช้เลี้ยงสัตว์ลดลง เนื่องจากมีการ
ปฏิรูปการเกษตรในช่วงปี 2536 – 2539 ที่ลดการอุดหนุนสินค้าธัญพืชลง ทำให้ผลิตภัณฑ์มัน
สำปะหลังไทยราคาไม่สามารถแข่งขันเพื่อเป็นอาหารสัตว์ในยุโรปได้ ขณะนั้นนักธุรกิจไทยต่างกังวลว่า
มันสำปะหลังไทยจะหมดอนาคตหากไม่สามารถเพิ่มผลผลิต/ไร่ และไม่ขยายตลาดอื่นได้ แต่ไทยเราก็
ทำสำเร็จ
2. ตลาดต่างประเทศ แป้งมันสำปะหลังและแป้งแปรรูปจากประเทศไทยกว่าปีละ 2 ล้านตัน
ออกไปขายทั่วโลกแข่งกับแป้งข้าวโพดจากสหรัฐอเมริกา ที่มีความก้าวหน้าทางการเกษตรและ
อุตสาหกรรมมากที่สุดในโลก
3. สามารถสนองความต้องการภายในประเทศ มีการใช้แป้งในอุตสาหกรรมกระดาษ ไม้อัด
อาหาร ทอผ้า ปีละกว่าล้านตัน และมันเส้นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์กว่าล้านตันเช่นกัน และ
ล่าสุดอุตสาหกรรมเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิง จะใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลัก
เบื้องหลังความสำเร็จคืองานวิจัยและการส่งเสริมเผยแพร่วิชาการ
งานวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกิดจากภาครัฐ องค์กรนานาชาติ และภาคเอกชนดังสรุป
1. ภาครัฐ มี 2 หน่วยงานหลักคือ
1.1 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่วิจัยด้านดิน – ปุ๋ย การเขต
กรรมพืชไร่ และพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 90 ระยอง 5
1.2 คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตผล
การเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร วิจัยพื้นฐานทางด้านดินปุ๋ย การเขตกรรม การแปรรูป และพันธุ์
เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 ห้วยบง 80
1.3 กรมส่งเสริมการเกษตร วิจัยและส่งเสริมในระดับไร่นา
2. สถาบันวิจัยเกษตรนานาชาติ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอุตสาหกรรมและมูลนิธิการกุศลต่าง ๆ กังวลว่า
ประเทศด้อยพัฒนาจะผลิตอาหารไม่พอเพียง จึงมีการตั้งสถาบันวิจัยการเกษตรนานาชาติขึ้น เพื่อ
สนับสนุนการวิจัยทางด้านการเกษตร และพัฒนาคน สำหรับมันสำปะหลังมีการตั้งศูนย์เกษตรเขตร้อน
นานาชาติ (Centro Internacional de Agricultura Tropiocal, CIAT) ตั้งที่เมืองคาลี (Cali) ประเทศ
โคลอมเบีย (Colombia) เมื่อปี 2509 (พีระศักดิ์ และเจริญศักดิ์, 2529) ศูนย์นานาชาติแห่งนี้
ช่วยเหลือประเทศไทยคือ
(1) การพัฒนานักวิจัย ในช่วงปี 2518 – 2545 CIAT ได้ให้ทุนนักวิจัยไปฝึกงานที่
ประเทศโคลอมเบียรวม 44 คน
(2) การพัฒนาพันธุ์ร่วมกับ CIAT และประเทศไทย ได้ร่วมมือกันปรับปรุงพันธุ์มัน
สำปะหลัง สำหรับภูมิภาคนี้เป็นเวลาถึง 15 ปี ตั้งแต่ปี 2525 – 2541
(3) CIAT เป็นแหล่งข้อมูล และเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังของประเทศไทย
จำนวนตัวเงินที่ CIAT ลงทุนไปคาดว่าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
3. ภาคเอกชน มีการจัดตั้งมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2533
มูล

การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2543/44

การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2543/44


 
วิจัย      นายอนุสรณ์ พรชัย
สังกัด    กลุ่มการจัดการฟาร์ม
            ส่วนวิจัยครัวเรือนเกษตรการจัดการฟาร์มและปัจจัยการ
            ผลิตสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
 
โทร.       02 – 579-2982  02 – 579-2982
 
โทรสาร   02 – 579-7564
     
Email    anusorn@oae.go.th        
  
การศึกษาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2543/44 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในปัจจุบัน ต้นทุนและผลตอบแทน ตลอดจนคาดประมาณสมการการผลิตและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตของเกษตรกร ในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญได้แก่ ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และกำแพงเพชร
 
ผลการศึกษาปรากฏว่า พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมดมีการเตรียมดิน โดยใช้เครื่องจักร 2 ครั้ง ส่วนใหญ่มักใช้คนปลูกโดยวิธีการขุดหลุมด้วยจอม/ไม้กระทุ้งหลุม บางส่วนใช้ผานหัวหมูติดรถไถเดินตามไถแถกร่อง แล้วหยอดเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อหลุม อัตราใช้ประมาณ 3.9 กิโลกรัมต่อไร่ มีการใส่ปุ๋ย 2 ครั้งเฉลี่ย 74 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 533 บาทต่อไร่ สูตรปุ๋ยเคมีที่ใส่มากที่สุดได้แก่ สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) มีการกำจัดวัชพืชโดยพ่นยาหลังหยอดเมล็ดภายใน 1 สัปดาห์ ไม่มีการป้องกันโรคแมลง เนื่องจากไม่มีโรคแมลงรบกวน ให้น้ำตลอดช่วงการเพาะปลูกเฉลี่ย 10 ครั้ง เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ เกษตรกรถอดยอดหรือดึงช่อดอกตัวผู้ออกทุกต้น เมื่ออายุ  40-45 วัน หลังจากนั้นถึงทำการเก็บเกี่ยวใช้เวลา 5-10 วันต่อรุ่น
  
ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยประมาณ 2,897 บาทต่อไร่ เป็นเงินสด 1,734 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 ไม่เป็นเงินสด 1,163 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 40 ต้นทุนรวมต่อกิโลกรัม 1.94 บาท ราคาขายเฉลี่ย 2.22 บาทต่อกิโลกรัม ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,492 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 3,308 บาทต่อไร่ รายได้อื่น 109 บาท รายได้รวม 3,417 บาทต่อไร่ เป็นกำไรสุทธิ 520 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัดพบว่า ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการผลิต อยู่ระหว่าง 2,598 – 4,042 บาทต่อไร่ โดยจังหวัดนครปฐมสูงสุด และกำแพงเพชรต่ำสุด ผลผลิตอยู่ระหว่าง 1,100 - 1,602 กิโลกรัมต่อไร่ จังหวัดราชบุรีต่ำสุด และสุพรรณบุรีสูงสุด กำไรสุทธิ 27 – 831 บาทต่อไร่ โดยจังหวัดนครสวรรค์ต่ำสุด และสระบุรีสูงสุด
 
จากสมการการผลิตพบว่าปัจจัยที่สำคัญที่กำหนดผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนได้แก่ ที่ดิน เนื้อธาตุปุ๋ยไนโตรเจน แรงงานคนและเครื่องจักร และจำนวนเมล็ดพันธุ์ โดยมีผลตอบแทนต่อขนาดการผลิตใกล้เคียงกับแบบผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ กล่าวคือมีผลรวมของความยืดหยุ่นเท่ากับ 1.06 การใช้ปัจจัยเพื่อให้มีความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจ ปัจจัยที่ควรใช้เพิ่มได้แก่ พื้นที่ปลูกขึ้น (ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของเกษตรกรเองได้แก่ เงินทุน แรงงาน เป็นต้น) เมล็ดพันธุ์ ส่วนปัจจัยที่ควรลดคือ แรงงาน อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถลดได้ควรใช้แรงงานของตนเอง ส่วนปริมาณเนื้อธาตุปุ๋ยไนโตรเจนนั้นเกษตรกรใช้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับความเหมาะสมเชิงเศรษฐกิจแล้ว
ข้อเสนอแนะ พบว่าเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นของเอกชนทั้งสิ้นและมีราคาสูง เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกและลดต้นทุนการผลิต ภาครัฐควรส่งเสริมให้กรมวิชาการเกษตรผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายให้แก่สมาชิก เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรดินให้คงความอุดมสมบรูณ์และสามารถใช้ได้อย่างยั่งยืน รัฐต้องดำเนินงานอย่างจริงจังในอันที่จะทำให้เกษตรกรปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเคมีมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิต แต่เป็นปัจจัยที่เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งพบว่าราคามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาปัจจัยจากต่างประเทศรวมทั้งเป็นการประหยัด รัฐต้องส่งเสริมและให้ความรู้แก่เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงโดยหันมากใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยพืชสดทดแทน บางจังหวัดมีรายได้จากการขายฝักเพียงอย่างเดียวในขณะที่บางจังหวัดสามารถขายต้นและเปลือกได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ต้องสูญเสียต้นและเปลือก ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ที่สามารถใช้ต้นและเปลือกเป็นอาหาร หรือนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักเพื่อในกลับไปใส่ทดแทนปุ๋ยเคมี

สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2940-5550 - 1, 0-2940-5553 - 4, 0-2940-5556 - 9

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตำบล Sufficiency Economy Philosophy in Sub-district Administration Organization


       บทคัดย่อ
ชื่อรายงานการวิจัย : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตำบล
ชื่อผู้วิจัย : กาญจนา บุญยัง เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ อุษณากร ทาวะรมย์
เดือน ปีที่ทำวิจัยแล้วเสร็จ : เมษายน 2552
การศึกษาเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตำบล มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหาร
ส่วนตำบล ศึกษานโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้
ในการปฏิบัติ เสนอแนวทางการนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และเสนอแนวทางการส่งเสริมปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้แก่ภาคประชาชน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับ
การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ องค์การบริหารส่วนตำบล
ทั่วประเทศ จำนวน 440 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก อบต.
11 แห่ง และอภิปรายกลุ่ม จำนวน 3 แห่ง ผลการศึกษา พบว่า
อบต. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น อบต. ขนาดเล็ก โดยผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็น
ตัวแทนของ อบต. ส่วนใหญ่เป็น ปลัด อบต. รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและ
แผน ผลการศึกษา พบว่า อบต. มีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การบริหารงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน อบต. มี
การวางแผนโดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เน้นการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนผ่านกระบวนการประชาคม ด้านการจัดองค์การและการจัดระเบียบงาน พบว่า
การจัดโครงสร้างการบริหารงานของ อบต. มีความชัดเจน แต่ อบต. อาจต้องจัดองค์การให้
มีความยืดหยุ่น ตลอดจนกำหนดแนวทางการบริหารเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับ
อบต. มากขึ้น ด้านการดำเนินงาน พบว่า อบต. คำนึงถึงการดำเนินงานตามแผนงาน
ที่กำหนดไว้ และพยายามดำเนินงานโดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือจากประชาชนและ
หน่วยงานต่างๆ ด้านการติดตามและประเมินผล พบว่า อบต. มีรูปแบบการประเมินผล
ที่ชัดเจน และเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมทั้งเครือข่ายร่วมติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน
(2)
ส่วนนโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การปฏิบัติพบว่า อบต. มีแผนการส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตแต่อบต. มากกว่าครึ่งไม่มีการสอดแทรกหลักเศรษฐกิจ
พอเพียงในกิจกรรม /โครงการ กรณีของ อบต. ที่มีนโยบายในการส่งเสริมให้ประชาชนนำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัตินั้น จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้
ประชาชนหรือสมาชิกกลุ่มต่างๆ พึ่งตนเองได้ ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน
กลุ่มเครือข่าย และหน่วยงานในพื้นที่
เมื่อพิจารณาการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การปฏิบัติตามกรอบแนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านการจัดการ พบว่า ด้านโครงสร้าง
องค์การ อบต. ส่วนใหญ่ไม่มีการแต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบโดยตรง กลไกการเผยแพร่
ความรู้ ส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก กลยุทธ์ที่ใช้ คือ
การประชาสัมพันธ์ การจัดศูนย์การเรียนรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้ประชาชน
ด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรของ อบต. เต็มใจที่จะส่งเสริม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านงบประมาณ พบว่า อบต. มากกว่า ร้อยละ 50
จัดสรรงบประมาณปี 2550 และ 2551 เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และมีแนวโน้มจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นงบประมาณของ
อบต. ทั้งหมด ด้านสถานที่ พบว่า อบต. มีสถานที่ที่เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ไม่เพียงพอ
ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ พบว่า อบต. ส่วนใหญ่มีวัสดุอุปกรณ์และและ
เครื่องมือเครื่องใช้แต่ยังไม่เพียงพอ สื่อที่ใช้ประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่ใช้เสียงตามสาย
สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ไปใช้ในชีวิตประจำ วัน พบว่า อบต. ประสบปัญหาด้านโครงสร้างองค์การ
ขาดผู้รับผิดชอบงานโดยตรง มีงบประมาณจำกัด ขาดวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ บุคลากร
ขาดความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดให้ประชาชนได้เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ดังนั้น อบต. จึงต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐโดย (1) จัดอบรมให้แก่บุคลากร
ของ อบต. (2) จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชน
(3) จัดสรรงบประมาณเฉพาะกิจเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง
กลไกการส่งเสริมให้ อบต. นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน
การบริหารงานและส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
คือ (1) ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจ

ชื่อผลงานวิจัย กล้วยไม้หวายต้านทานไวรัสยอดบิด


เป็นผลงานใหม่และโดดเด่น
การสร้างพันธุ์กล้วยไม้หวายโซเนียเอียสกุลให้มีคุณลักษณะต้านทานไวรัสยอดบิด โดยการทาลายอาร์เอ็นเอจีโนมของไวรัสในส่วนยีนที่กาหนดการสร้างโปรตีนหุ้มอนุภาคไวรัส (CyMV-CP) ที่เข้าทาลายอยู่ในกล้วยไม้ ด้วยการถ่ายยีน CyMV-CP ที่ออกแบบพิเศษให้มียีนสองโมเลกุลอยู่คู่กัน และกาหนดให้เกิดการแสดงออกของยีนแบบ over-expression เพื่อเข้าขบวนการ RNAi ในการปกป้องตัวเองของกล้วยไม้ ผลการถ่ายยีน CyMV-CP โดยการยิงอนุภาคเข้ากล้วยไม้หวายโซเนียเอียสกุลที่เป็นโรคไวรัสยอดบิด พบว่าไวรัสในกล้วยไม้แปลงพันธุ์ที่ผลิตได้มีปริมาณไวรัสและการแพร่ของไวรัสไปยังเนื้อเยื่อเจริญของกล้วยไม้ลดลงเรื่อยๆ จนตรวจไม่พบไวรัสยอดบิดทั้งในระดับ กรดนิวคลีอิค โปรตีน และอนุภาคไวรัสในที่สุด แม้ในกล้วยไม้แปลงพันธุ์ที่นาไปขยายด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และด้วยวิธีการคัดเลือกกล้วยไม้แปลงพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้มีเนื้อเยื่อกล้วยไม้ได้รับยีนโปรตีนหุ้มอนุภาคของไวรัสได้ทั่วทั้งต้น จึงเปรียบเสมือนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคไวรัสให้กับกล้วยไม้ หลักการผลิตกล้วยไม้ต้านทานไวรัสที่คิดค้นได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกล้วยไม้ในทุกสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์และการผลิตเพื่อการค้าในอนาคต
2
3. ผลงานมีผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชากรไทย
กล้วยไม้ตัดดอกของประเทศไทยเป็นพืชส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งมูลค่าการค้ากล้วยไม้ของโลกปี 2550 สูงกว่า 5,337 ล้านบาท (PR new network, 2551) ปัญหาด้านโรคมีรายงาน ไวรัสยอดบิด Cymbidium mosaic virus (CyMV) ที่พบเข้าทาลายและแพร่ระบาดทาความเสียหายให้กับกล้วยไม้หลายชนิดที่ปลูกเป็นการค้า ในสภาวะที่พืชอ่อนแอกล้วยไม้จะแสดงอาการของโรคอย่างรุนแรง การควบคุมโรคที่เกิดจากไวรัสในกล้วยไม้มีข้อจากัด เนื่องจากเชื้อไวรัส CyMV อาศัยอยู่ทุกส่วนของเนื้อเยื่อพืชรวมถึงปลายยอดสุดที่เซลล์กาลังแบ่งตัว ดังนั้นเราจึงมักตรวจพบเชื้อ CyMV กับกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การรักษาโรคไวรัสของกล้วยไม้ในปัจจุบัน คือ การทาลายต้นที่เป็นโรค และ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเมล็ด แต่ลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยไม้อาจแปรปรวนได้
4. ผลงานมีผลกระทบทางบวกต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นาไปสู่การคิดค้น และการพัฒนาที่สาคัญต่อไป
4.1 การออกแบบโครงสร้างยีน CyMV-CP ในพลาสมิด
งานวิจัยในช่วงแรกได้ออกแบบโครงสร้างของยีนโปรตีนหุ้มอนุภาค ให้มีทิศของการแสดงออกของยีนแบบ sense เพียง 1 โมเลกุล บนพลาสมิดชื่อ pCB2 เมื่อนาไปถ่ายยีนพบว่าไม่สามารถยับยั้งไวรัสที่มีอยู่ในกล้วยไม้ได้ ต่อมาโครงสร้างของยีนโปรตีนหุ้มอนุภาคถูกออกแบบเป็น 2 โมเลกุล ต่อกันในพลาสมิดชื่อ pCB199 พบว่าโครงสร้างของยีนแบบนี้ยับยั้งไวรัสยอดบิดที่มีอยู่ในกล้วยไม้จานวนมากได้
4.2 ประสิทธิภาพการถ่ายยีนเข้ากล้วยไม้
พัฒนา และ คณะ ได้ศึกษาวิจัยระบบการถ่ายยีนโดยอะโกรแบคทีเรียม และ การถ่ายยีนโดยการยิงอนุภาคในกล้วยไม้และการคัดเลือกอย่างมีประสิทธิภาพ (Suwanna-ketchanatit et al., 2006) ดังนั้น ผลการถ่ายยีนจึงมีประสิทธิภาพสูง และกล้วยไม้ดแปลงพันธุ์ประกอบด้วยทุกส่วนพืชได้รับยีน ทาให้การยับยั้งไวรัสเกิดได้ทุกส่วนของพืช แม้ในบริเวณที่มีการแบ่งตัวของเซลล์
4.3 ยีนโปรตีนหุ้มอนุภาคไวรัสสาเหตุโรคของประเทศไทย
ผู้ประดิษฐ์ได้ศึกษาวิเคราะห์และโคลนยีนไวรัสใบยอดบิดของประเทศไทยที่พบแพร่ระบาดในกล้วยไม้ทุกสายพันธุ์ ดังข้อมูลใน GenBank คือ ไวรัสของกล้วยไม้ออนซิเดียม (assession # AY376393) กล้วยไม้มอคารา (AY376392) และ กล้วยไม้แคทลียา (AY376391) ยีนที่ใช้จึงมี
3
ประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการทางานของยีนของไวรัสที่เข้าทาลายกล้วยไม้ในประเทศไทย (Srifah et al., 1996; Arayaskul et al., 2002)
4.4 วิธีการตรวจสอบไวรัสยอดบิดในกล้วยไม้ที่ผ่านการคัดเลือก
กลวยไม้หวายโซเนียเอียสกุลดัดแปลงพันธุกรรมที่ผ่านการคัดเลือกนาน 9 เดือน ตรวจพบกล้วยไม้ 2 โคลน ยับยั้งการสร้าง mRNA ของยีน CyMV-CP ได้ในระดับหนึ่งเมื่อตรวจด้วย RT-PCR เมื่อตัดแยกขยายกล้วยไม้โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อจนมีอายุ 17 เดือน ตรวจไม่พบไวรัสยอดบิดทั้งในระดับกรดนิวคลีอิค ระดับโปรตีนเมื่อตรวจสอบด้วยวิธี ELISA (Enzyme linked immunosorbant assay) และตรวจไม่พบอนุภาคไวรัสด้วยวิธี IEM (Immuno Electron microscopy) ที่ใช้ Antiserum ของไวรัสยอดบิด

การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม



กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งแม่น้ำหรือกุ้งหลวง เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่ชาวไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นกุ้งท้องถิ่นแถบเอเชียใต้ถึงตะวันออกเฉียงใต้ และเรามีการเพาะเลี้ยงมาอย่างยาวนาน แต่เนื่องจากว่าตลาดกุ้งก้ามกราม มีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ที่ขายตามเพศ อายุ โครงร่าง ขนาด และอื่นๆ จึงมีข้อจำกัดในการจัดการเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม ประกอบกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต้องใช้พื้นที่ในเขตเกษตรกรรมน้ำจืด ซึ่งมีการเกษตรอื่นหลากหลายอยู่แล้ว และผลตอบแทนโดยเฉลี่ยไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับกุ้งกุลาดำ (ทั้งขั้นตอนการผลิตและการตลาด) และได้เกิดช่วงอุปสรรคบ่อยครั้ง ส่งผลให้เกิดการชะงักในกระบวนการพัฒนาต่อเนื่อง
ทั้งนี้ปัจจุบันภาวะที่ "กุ้ง" ได้เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวเด่นของโลกไปแล้ว ด้วยมูลค่าตลาดจากต้นทางถึงผู้บริโภครวมกว่า 1.3 ล้านล้านบาท อีกทั้ง ประชากรโลกนิยมบริโภคสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีตลาดผู้บริโภคกุ้ง หลากหลายสายพันธุ์ ประเทศผู้ผลิตกุ้งส่งออกจึงแสวงหา และศึกษาวิจัยการผลิตกุ้งสายพันธุ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในทางธุรกิจมากขึ้น
กุ้งก้ามกราม ในฐานะกุ้งน้ำจืด ตัวเด่นของภูมิภาคเอเชียใต้ ก็เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ถึงปัจจุบัน อินเดีย บังคลาเทศ ได้เริ่มผลิตส่งออกอย่างเป็นรูปธรรมระดับหนึ่ง และไทยเองก็เริ่มมีผู้สนใจ ในกุ้งตัวนี้มากขึ้น และธุรกิจผลิตเชิงพัฒนาการเพื่อการส่งออกได้เริ่มต้นขึ้นบ้างแล้ว
ตนซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำกิจกรรมเครือข่าย "คนไทย-กุ้งไทย" เพื่อร่วมพัฒนา "กุ้งไทย" เร่งด่วนในปี             2544-2545       นี้ โดยเป้าหมายเพื่อเสริม "กุ้งไทย" ให้มีความแข็งแกร่งและก่อผลประโยชน์แก่ "คนไทย" อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน มีความเห็นว่า เราสามารถร่วมพัฒนาการผลิตกุ้งก้ามกราม เพื่อการส่งออกอย่างเป็นระบบได้ จึงได้ทำการสำรวจศึกษาและติดตามข้อมูลการเพาะเลี้ยงมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี จนได้สรุป "ข้อมูลศึกษาเชิง วิเคราะห์เรื่อง การผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อการส่งออก" ฉบับนี้ขึ้น และเสนอต่อเกษตรกร บุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อการร่วมพัฒนาการผลิตกุ้งก้ามกรามในการส่งออก ให้ก้าวหน้าสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานการณ์การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มการพัฒนาต่อเนื่อง
1.เงื่อนไขจำเพาะ
กุ้งก้ามกราม แม้จะเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่อาจเปรียบเทียบกับกุ้งทะเล คือ กุ้งกุลาดำ ซึ่งเราได้เพาะเลี้ยงจนเป็นสายพันธุ์ในอุตสาหกรรมกุ้งไทยไปแล้ว จนดูเหมือนว่า กุ้งก้ามกรามน่าจะเป็นที่สนใจ และพัฒนาผลิตเป็น กุ้งส่งออกเชิงอุตสาหกรรมได้ง่าย แต่เมื่อศึกษารายละเอียดเจาะลึก จะเห็นได้ว่ากุ้งก้ามกรามมีเงื่อนไขจำเพาะหลายประการที่แตกต่างจากกุ้งกุลาดำ และถือเป็นข้อจำกัดต่อการกำหนดรูปแบบงานพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงื่อนไข
1.1 ความแตกต่างด้านขนาดและโครงร่างในผลผลิต
โดยปกติทั่วไป กุ้งขนาดใหญ่ทุกชนิด เพศเมียจะโตกว่าเพศผู้ เช่น กุ้งกุลาดำ หรืออย่างน้อยก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เช่น กุ้งขาว แต่กุ้งก้ามกรามมีข้อแตกต่างตรงที่ กุ้งเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมียมาก โดยเฉพาะเมื่อเลี้ยงถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ที่ 6เดือนขึ้นไป อีกทั้งในฝูงที่ผลิตได้ยังมีลักษณะโครงร่างแยกแยะแตกต่างกันไปอีก คือ
กุ้งเพศผู้ที่เป็นกุ้งเนื้อขนาดใหญ่ เรียกว่า กุ้งใหญ่ (และมีชื่อแบ่งย่อยต่างๆ)
กุ้งเพศผู้ที่เป็นกุ้งเนื้อขนาดรอง เรียกว่า กุ้งกลาง
กุ้งเพศผู้ที่เป็นนักเลงคุมฝูง เรียกว่า กุ้งก้ามโต
กุ้งเพศเมียสมบูรณ์พันธุ์ เรียกว่า กุ้งนาง
กุ้งเพศเมียระยะฟักไข่(ไข่หน้าท้อง) เรียกว่า แม่กุ้งหรือกุ้งไข่
กุ้งแคระแกรน เรียกว่า กุ้งจิ๊กโก๋หรือหางกุ้ง
ซึ่งแต่ละชนิดจะมีโครงร่าง ความสวยงามและอัตราส่วนเนื้อต่อตัวกุ้งที่แตกต่างกัน จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้วิธีการและราคาจำหน่ายมีหลากหลายต่างกัน ซึ่งคุณลักษณะข้อนี้ทำให้เกิดอุปสรรคด้านตลาดผลผลิตมาโดยตลอด
1.2 ความนิยมของผู้บริโภคจำเพาะที่โครงร่างและขนาด
ตลาดผู้บริโภคกุ้งก้ามกราม โดยปกติจะนิยมบริโภคกุ้งขนนาดใหญ่ที่มีโครงร่างสวยงาม จึงทำให้กุ้งเนื้อตัวผู้ขนาดใหญ่ และขนาดรอง มีราคาต่างกันมากตลอดถึงกุ้งตัวเมียสมบูรณ์พันธุ์ และสุดท้ายคือ กุ้งตัวเมียระยะฟักไข่ หน้าท้อง ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด และราคาต่ำมาก เนื่องจากเนื้อน้อย รสชาติไม่ดีพอ
1.3 กุ้งก้ามกรามมีระยะผสมพันธุ์เร็วกว่าระยะจับขาย
เนื่องจากผู้บริโภคต้องการกุ้งขนาดใหญ่ และมีโครงร่างสวย ถือตามเกณฑ์ 70-100 กรัม/ตัว (15-10 ตัว/กก.) ในขณะที่กุ้งนี้เจริญเติบโตได้ช้าในช่วง 3 เดือนแรก จึงจำเป็นต้องเลี้ยงนานกว่า 6 เดือน แต่กุ้งก้ามกรามเริ่ม สมบูรณ์พันธุ์และผสมพันธุ์เร็ว (เพียง 4 เดือน) จึงทำให้เกิดการผสมพันธุ์ วางไข่ก่อนถึงระยะขายเนื้อกุ้ง โดยการเลี้ยงแบบเดิมจะทำให้คุณสมบัติรายตัวของผลผลิตแตกต่างกันมาก (ดังข้อที่ 1.)
1.4 ปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่ากุ้งกุลาดำ
เนื่องจากกุ้งก้ามกราม ต้องเลี้ยงนานเพื่อให้ได้ไซส์ใหญ่ ประกอบกับโครงร่างที่มีน้ำหนักส่วนของหัว และก้ามมาก จึงเป็นกุ้งเกาะตามพื้นเป็นหลัก อีกทั้ง เป็นกุ้งที่ก้าวร้าวและกินกันเอง เมื่อลอกคราบหรืออ่อนแอ จึงมีข้อจำกัด เรื่องความหนาแน่นในการเลี้ยงช่วงปลาย ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของรอบการผลิตต่ำ เพียงระดับ 300-400 กก./ไร่ ซึ่งต่ำกว่ากุ้งกุลาดำมาก
2.สถานการณ์การผลิตในปัจจุบัน
การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ต้องใช้พื้นที่ราบในเขตเกษตรกรรมน้ำจืดที่ดินมีคุณสมบัติเก็บน้ำได้ดี จึงนิยมเลี้ยงเฉพาะในบริเวณส่วนที่ราบลุ่มภาคกลาง และบางบริเวณของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเฉพาะในส่วนใกล้ แม่น้ำหรือคลองชลประทาน โดยใช้วิธีผลิตเชิงประสบการณ์ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องช้า จึงได้ผลผลิตค่อนข้างคงที่ ที่ระดับผลผลิตรวมประมาณ 25,000-30,000 ตัน/ปี ซึ่งในระยะก่อนปี 2540
ีข้อจำกัดเรื่องราคาและการเสียหายในขั้นตอนการเพาะเลี้ยง จนถึงหลังปี 2540 ที่ราคาสูงขึ้นบ้างตามราคากุ้งกุลาดำ ก็เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาเพิ่มขึ้น และเริ่มมีการส่งออกบ้าง แต่มีพื้นที่การเลี้ยงกุ้งบางส่วนที่ถูกปรับไป เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ถึงปี 2544 จากปัญหามาตรา 9 จึงเริ่มมีการกลับเข้ามาเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพิ่มขึ้นอีก จนระบบตลาดภายในรองรับไม่ทัน และเกิดภาวะราคาต่ำลงในปัจจุบัน
3.ปัญหาปัจจุบัน
3.1 ใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม ซึ่งหลายส่วนถือเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ที่สำคัญ คือ
- ขาดการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จากอดีตที่เคยใช้พันธุ์กุ้งจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ปัญหานี้มีน้อย แต่เมื่อพันธุ์กุ้งธรรมชาติลดลงและต้องกลับมาใช้แม่พันธุ์จากบ่อดิน ปรากฏว่าผู้เพาะเลี้ยงไม่เคร่ง ครัดในการคัดแยกสร้างแปลงพันธุ์ เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง (ส่วนใหญ่เพียงแต่นำแม่พันธุ์ที่มีไข่หน้าท้องตามระยะที่ต้องการจากบ่อดินทั่วไปมาใช้งานเป็นหลัก)
- นิยมเลี้ยงรวมฝูงคละเพศ การเลี้ยงในลักษณะดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนกุ้งอุ้มไข่หน้าท้องและจิ๊กโก๋ครองฝูงสูงกว่าที่ควร
- การใช้วิธีคราดจับเป็นระยะ การเลี้ยงรวมฝูง และคราดจับเป็นระยะเพื่อเลือกตัวเมียออก หรือคัดตัวใหญ่ขาย นอกจากเสียโอกาสทางธุรกิจที่ขายกุ้งไซส์หัวก่อนกำหนดแล้วยัง ทำให้สภาพแวดล้อมในบ่อเปลี่ยนแปลงหรือ ไม่เหมาะสม เพราะการคราดจับแต่ละครั้ง ทำให้ตะกอนขี้กุ้งและสารอินทรีย์พื้นบ่อฟุ้งกระจายได้ง่าย ส่งผลให้เกิดปัญหากุ้งเครียด ป่วยเสียหาย
- วิธีการผสมยาลงในอาหารกุ้ง จากการคราดจับเป็นระยะ ทำให้จำเป็นต้องใช้ยาผสมอาหารให้กุ้งกินในช่วงปลายรอบการผลิต จึงเกิดปัญหามียาตกค้างในเนื้อกุ้งได้ง่าย อันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาต่อเนื่องด้านการตลาด ทั้งตลาดภายในและส่งออก
3.2 ระบบการผลิตและตลาดที่ไม่สอดคล้องกัน
เนื่องจากการผลิตกุ้งก้ามกรามเชิงธุรกิจอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตที่เหมาะสม พร้อมการพัฒนาด้านการตลาดที่สอดคล้องกัน ทั้งสอดคล้องกับแผนการผลิต และสอดคล้องหรือสมดุลระหว่างตลาดส่งออก และตลาดภายในประเทศ ตามข้อจำกัดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกโดยเฉพาะส่วนผลผลิตกุ้งที่มีตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ ตามข้อจำกัดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกได้เฉพาะส่วนผลผลิตกุ้งที่มี คุณสมบัติ ตามความต้องการของประเทศผู้ซื้อ โดยส่วนนอกเหนือจากการส่งออกจะต้องมีตลาดภายในรองรับได้อย่างสมดุล
3.3 ปัญหาด้านการตลาด
-ภายใน ความนิยมจำกัดที่โครงร่าง ขนาด เพศ และความมั่นใจในคุณภาพผลผลิต
-ส่งออก มีข้อจำกัดที่คุณภาพและความปลอดภัย (พบยาตกค้างและปนเปื้อนแบคทีเรียที่เป็นโทษ)
4.แนวโน้มการพัฒนาต่อเนื่อง
จากการศึกษาติดตามข้อมูลธุรกิจกุ้งกุลาดำเพื่อการส่งออก ทั้งที่ได้มีการส่งออกลูกพันธุ์กุ้งและกุ้งเนื้อของไทยตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา และข่าวการพัฒนาผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อการส่งออกของประเทศอินเดีย และบังคลาเทศ มีข้อสรุป ดังนี้
4.1 ไทยซี่งมีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมากพอที่จะพัฒนาผลิตเพื่อการส่งออกได้ เพียงพื้นที่เพาะเลี้ยงเดิมที่ยังคงดำเนินการอยู่และพื้นที่ใหม่บางส่วนที่เพิ่มขึ้น ในปัจจุบันก็สามารถพัฒนาสู่การผลิต ผลผลิตกุ้งก้ามกรามได้ถึงระดับ 50,000 ตัน/ปี ภายใน 12-18 เดือน
4.2 หากมีการเร่งรัดพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการคัดเลือกใช้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับระบบการเลี้ยงที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูงและต้นทุนต่ำลง พร้อมการพัฒนาระบบตลาดรองรับผลผลิตทั้งตลาด ภายในและตลาดส่งออกที่สอดคล้องกัน จะสามารถผลิตกุ้งก้ามกรามส่งออกได้ต่อเนื่อง ขั้นตอน คือ

ผลผลิตกุ้งหน้าฟาร์ม ประมาณปีละ 60,000 ตัน
ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประมาณปีละ 30,000 ตัน
มูลค่าส่งออก ประมาณปีละ 10,500 ล้านบาท
แนวทางพัฒนาการผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อการส่งออก
เนื่องจากการผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อการส่งออก มีข้อแตกต่างจากการผลิตกุ้งประเภทอื่น ตามข้อจำกัดด้านความนิยมและมูลค่า จึงต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตลูกพันธุ์กุ้ง การเลี้ยงกุ้งเนื้อ และการ จำหน่ายผลผลิตที่สอดคล้องกันระหว่างตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.การพัฒนาด้านการผลิตลูกกุ้ง
1.1 จำเป็นต้องมีระบบฟาร์มเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งโดยเฉพาะ โดยการจัดหาสายพันธุ์เพิ่มเติมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ร่วมกับการคัดสายพันธุ์จากฟาร์มเลี้ยงกุ้งเนื้อ โดยมีเป้าหมายลักษณะสายพันธุ์ อาทิ
-โครงสร้างดี ส่วนหัวเล็กลง ส่วนก้ามพอเหมาะ ปล้องลำตัวยาว และมีอัตราส่วนของเนื้อต่อตัวกุ้งสูง
-การเจริญเติบโตดี
-โตเร็วในระยะแรก เพื่อให้ได้ตัวกุ้งที่ระยะสมบูรณ์พันธุ์ขนาดใหญ่กว่าเดิม
-มีความต้านทานต่อโรค สภาวะแวดล้อมหรืออื่นๆ
1.2 ปรับขบวนการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยปรับระบบจัดการด้านสุขาภิบาล ที่เน้นการป้องกันปนเปื้อนพาราสิต และเชื้อโรค และเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพ ให้ได้ลูกกุ้งคุณภาพสูง สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นทุนต่ำ
2.การพัฒนาด้านการผลิตกุ้งเนื้อ ิเนื่องจากการผลิตกุ้งเนื้อในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ คือ
2.1 การปล่อยลูกกุ้ง (1.5-2.0 ซ.ม.)ลงเลี้ยงรวมฝูง และเลี้ยงระยะเดียวถึงเริ่มทยอยจับขายที่ 5 เดือน โดยอาจมีการปล่อยหรือไม่ปล่อยเสริมในช่วงคราดจับ (การปล่อยลูกกุ้งเสริมในช่วงคราดจับ แม้จะสามารถเลี้ยงและจับต่อ เนื่องได้นาน แต่จะเป็นอุปสรรคต่อการผลิตส่งออก)
2.2 การปล่อยลูกกุ้ง (1.5-2.0 ซ.ม.) ลงเลี้ยงในบ่ออนุบาลกุ้งจนอายุ 2.5-3 เดือน (5.0-8.0 ซ.ม.) และนำไปเลี้ยงต่อในบ่อเลี้ยงกุ้งเนื้อ โดยมีทั้งแบบเลี้ยงแยกเพศและเลี้ยงคละเพศ เมื่อได้ทำการศึกษาตามข้อมูลการเลี้ยงแล้ว มีข้อสรุปที่น่าสนใจคือ ระบบการเลี้ยงที่สามารถดำเนินการได้สะดวก ให้ผลผลิตดี ความเสี่ยงต่ำ และต้นทุนต่ำ เหมาะสมต่อการผลิตเพื่อส่งออก ควรมีแนวทางการเลี้ยงดังนี้

หลักการ
-ทำการเลี้ยงเป็น 2 ระยะ คือ ระยะอนุบาลและระยะเลี้ยงกุ้งเนื้อ
-ในระยะเลี้ยงกุ้งเนื้อ ควรเลี้ยงแบบแยกเพศ (ตัวผู้ ตัวเมีย แยกจากกัน)
-จับออกเป็นชุดตามที่ตลาดต้องการ
ระบบการเลี้ยงดังกล่าว ได้มีข้อมูลจากกการศึกษาของฟาร์มสามแม่น้ำรีสอร์ต เป็นข้อมูลขั้นต้น ดังนี้
วิธีการ
-ปล่อยกุ้งในบ่ออนุบาลที่ขนาด 1.5-2.0 ซ.ม. (กุ้งคว่ำ 5-7 วัน)
-เลี้ยงอนุบาลในระยะเวลา 75-90 วัน
-คัดแยกเพศก่อนถึงระยะผสมพันธุ์ (ก่อนระยะมีตัวอ่อนอุ้มไข่หน้าท้อง)
-ย้ายเลี้ยงต่อในบ่อเลี้ยงกุ้งเนื้ออีก 90-100 วัน
-จำหน่ายผลผลิต *กุ้งตัวเมียที่ไซส์ 20 ตัว/กก. ( 50กรัม/ตัว) *กุ้งตัวผู้ที่ไซส์ 10-12 ตัว/กก. (80-100 กรัม/ตัว)
-ผลผลิตกุ้งเนื้อต่อไร่ เฉลี่ย 320-400 กก./ไร่/รอบ
-ผลผลิตกุ้งเนื้อต่อปี (2.5 รอบ) เฉลี่ย 800-1,000 กก./ไร่/ปี
3.การพัฒนาด้านการตลาด
เนื่องจากมูลค่ากุ้งก้ามกรามที่ขึ้นกับเพศ โครงร่างและขนาด แต่ละตลาดอาจจะนิยมแตกต่างกัน ดังนั้น การพัฒนาตลาดรองรับผลผลิตกุ้งก้ามกราม จึงต้องมีการพัฒนาที่สอดคล้องกัน ทั้งตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ จากผลการศึกษาข้อมูล มีข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้
3.1 ด้านตลาดส่งออก
*ส่งออกกุ้งเป็นขนาดใหญ่ 10-12 ตัว/กก. สู่ตลาดประเทศใกล้เคียง เช่น ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์และเกาหลี (ตลาดเหล่านี้ พร้อมรับกุ้งที่ขนาดใหญ่กว่า 10 ตัว/กก. และที่ 15-20 ตัว/กก.)
*ส่งออกกุ้งแปรรูปขนาดใหญ่ 10-15 ตัว/กก. สู่ตลาดทั่วไป
*ส่งออกกุ้งแปรรูปขนาดกลาง 15-20 ตัว/กก. สู่ตลาดทั่วไป
3.2 ด้านตลาดภายในประเทศ
*จำหน่ายกุ้งเป็นเพศผู้ขนาดใหญ่ 10-12 ตัว/กก.
*จำหน่ายกุ้งเป็นเพศผู้ขนาดกลาง 13-15 ตัว/กก.
*จำหน่ายกุ้งขนาดเล็กหรือที่นอกเหนือจากตลาดส่งออก
ทั้งนี้ การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่พร้อม ในการส่งออกต่างประเทศจำเป็นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ
-ผลผลิตกุ้งคุณภาพ สะอาด ปลอดยาตกค้าง ไม่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่เป็นโทษเกินมาตรฐาน
-โครงร่างสวย ไม่มีตำหนิ (เช่น หางกร่อน หนวดขาด ระยางค์ไม่ครบ)
-รสชาติตามธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นโคลน อื่นๆ
-จับด้วยวิธีที่เหมาะสม มีระยะพักกุ้งหลังจับ และปรับลดอุณหภูมิตามวิธีการมาตรฐาน
ข้อมูลศึกษาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อการส่งออก
จากที่ตนมีโอกาสร่วมศึกษาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของคุณสุชาติ ผดุงกุล แห่งฟาร์มสามแม่น้ำรีสอร์ต อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ทำให้มั่นใจว่า แนวทางดังกล่าว จะเป็นแนวทางเหมาะสมมาก
สำหรับการผลิตกุ้งก้ามกรามเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน จึงขอสรุปเป็นข้อมูลเพื่อร่วมพัฒนาการผลิตต่อเนื่อง ดังนี้
1. การผลิตลูกกุ้ง
-แหล่งพันธุ์ ใช้พ่อพันธุ์จากธรรมชาติ ร่วมกับแม่พันธุ์จากระบบฟาร์ม โดยการคัดเลือกเฉพาะกุ้งตัวเมียที่โตเร็ว ลักษณะดี และถ้าเป็นไปได้ควรแยกเลี้ยงในย่อกุ้งพันธุ์โดยเฉพาะ
-อายุแม่พันธุ์ 6 เดือนขึ้นไป หรือน้ำหนักขั้นต่ำ 35 กรัม/ตัว (โดยทั่วไปมีการใช้แม่พันธุ์3.5 เดือนขึ้นไป หรือน้ำหนักขั้นต่ำที่ 20 กรัม/ตัว)
-อนุบาลลูกกุ้ง ที่ระดับ 100,000 ตัว/ลบ.ม.
-อาหารอนุบาลลูกกุ้ง คือ อาร์ทีเมีย ไข่ตุ๋น อาหารสำเร็จรูปสำหรับอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อน
-ระยะกุ้งคว่ำ ควรอยู่ที่ 15-18 วัน
-จำหน่ายหรือย้ายลงบ่ออนุบาลกุ้งเนื้อ ที่หลังกุ้งคว่ำ 7 วัน โดยการปรับความเค็มน้ำ สู่ระดับความเค็ม 3 พีพีที หรือปรับจนเป็นน้ำจืดตามความเหมาะสม (ถ้าความเค็มเกิน 3 พีพีที ควรนำไปปล่อยแบบกั้นคอก)
-ตลอดระยะอนุบาล เน้นหลักการชีวภาพ โดยควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยการจัดการด้านการให้อาหารที่เหมาะสม การดูดตะกอน การถ่ายน้ำ
-อัตรารอดถึงระยะขาย ประมาณ 60-70%
2. การอนุบาลกุ้งเนื้อในบ่อนุบาล
-ปล่อยอนุบาลขั้นที่ 1 อัตรา150,000-200,000 ตัว/ไร่ และแบ่งเฉลี่ยที่บ่ออนุบาลขั้นที่2 ที่อายุกุ้งประมาณ 1 เดือน หรือขนาด 1,000 ตัว/กก. อัตรา 40,000-50,000 ตัว/ไร่ ( ถ้ากรณีอนุบาลระยะเดียว ควรปล่อยที่ระดับ 100,000 ตัว/ไร่)
-เลี้ยงลูกกุ้งด้วยการเตรียมอาหารธรรมชาติเสริมและเลี้ยงต่อด้วยอาหารกุ้งกุลาดำ ในระยะ 2 เดือนแรก โดยเริ่มจาก 1 กก./100,000 ตัว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตามเงื่อนไขความสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติ พฤติกรรมการกินอาหารและการเจริญเติบโต
-เมื่อกุ้งอายุประมาณ 75-90 วัน จะทำการย้ายกุ้งจากบ่ออนุบาลกุ้งเนื้อสู่บ่อเลี้ยงกุ้งใหญ่ โดยการคราดจับด้วยอวนขนาดตา 1.5-2.0 ซม. ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มแยกเพศกุ้งตัวเมียและตัวผู้ได้ โดยการสังเกตความเข้มที่สีของหัวกุ้ง (กุ้งตัวเมียจะมีสีลักษณะไข่อ่อนเข้มแดงจัดกว่าตัวผู้) ทั้งนี้ ต้องงดอาหารก่อนย้าย
3. การเลี้ยงกุ้งเนื้อในบ่อเลี้ยงกุ้งใหญ่ แนวทางที่ประหยัดและเหมาะสมของการจัดระบบเลี้ยงกุ้งใหญ่ คือ การเลี้ยงในลักษณะลู่น้ำเวียน โดยมี 2 แบบ คือ
3.1 การเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกุ้งโดยเฉพาะ โดยการสร้างบ่อรูปผืนผ้าทรงยาว ด้านกว้างประมาณ 20-30 เมตร โดย
"ด้านหัวและท้ายบ่อมีร่องน้ำผ่านที่น้ำสามารถไหลเวียนต่อเนื่องสู่บ่อถัดไป น้ำจากบ่อสุดท้ายจะไหลลงสู่บ่อพักและบ่อตกตะกอน แล้วมีการสูบหรือดันน้ำกลับสู่บ่อเลี้ยงบ่อแรกใหม่อีกครั้ง ทำให้น้ำหมุนเวียนต่อเนื่องได้ตลอดเวลาที่ต้องการ"
-การเลี้ยงแบบลู่น้ำเวียนนี้ สามารถดันน้ำให้ไหลผ่านบ่อเลี้ยงตามยาวและไหลต่อเนื่องได้ทั้งชุด ตะกอนและสารอินทรีย์ที่เกิดจากการเลี้ยงส่วนใหญ่ จะไหลลงตกตะกอนและบำบัดในบ่อพักน้ำที่ 1 และ 2 ก่อนสูบกลับไปไหลเวียนรอบใหม่ (สามารถเลี้ยงปลากินพืชในบ่อพักเป็นผลผลิตเสริมได้ด้วย)
-ความหนาแน่นของกุ้งที่ปล่อย ขึ้นกับเป้าหมายขั้นสุดท้ายว่าจะเลี้ยงกุ้งถึงขนาด (ไซส์) เท่าใด ในระยะเวลาเท่าใด (ถ้าปล่อยกุ้งแน่น จะโตช้ากว่ากุ้งบาง) อัตราปล่อยปกติที่กุ้งตัวผู้ 5-7 ตัว/ตร.ม. (8,000-10,000 ตัว/ไร่) และกุ้งตัวเมีย 6-12 ตัว/ตร.ม. (15,000-20,000 ตัว/ไร่)
-ผลการเลี้ยง ขึ้นกับฝีมือการคัดแยกเพศ ถ้าแยกเพศได้ถูกต้องจะทำให้กุ้งนักเลงคุมฝูงในบ่อกุ้งตัวผู้น้อย และกุ้งตัวเมียที่ปลอดตัวผู้จะไม่ถูกผสมและฟักไข่หน้าท้อง จะทำให้ได้กุ้งขนาดใหญ่ตามเป้าหมายมากขึ้น
-ระยะเวลาการเลี้ยงด้วยระบบลู่น้ำเวียนนี้ ใช้เวลาประมาณ 3-5 เดือน (90-100 วัน) จะได้กุ้งตัวผู้ที่ขนาด 10-12 ตัว/กก. (80-100 กรัม/ตัว) กุ้งตัวเมียที่ 20 ตัว/กก. (50 กรัม/ตัว)
-การให้อาหาร โดยใช้อาหารกุ้งก้ามกรามวันละ 3 มื้อ (เช้ามืด,บ่าย,ค่ำ) เช็คยอประมาณ 2-3 ชั่วโมง และหากเช็คยอมื้อชนมื้อควรใส่ยอมากและเช็คยอซ้ำ 2 ครั้ง
-อาจมีการถ่ายน้ำกระตุ้นลอกคราบตามความเหมาะสม เช่น ทุก 10-15 วัน
-ก่อนถึงระยะจับขาย จะมีการเสริมอาหารสด (ปลาสด) ตามความจำเป็น (โดยให้ปลาสดแทนอาหารช่วงมื้อบ่าย) และมีการถ่ายน้ำกระตุ้นลอกคราบก่อนการขายเป็นพิเศษ
-ผลผลิตมากกว่า 300 กก./ไร่ อัตราแลกเนื้อ โดยประมาณ 1.5-1.7
3.2 การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเสริมในนาข้าว โดยการสร้างระบบคูลาดเป็นขาวังรอบแปลงนาข้าว ระยะแรกปล่อยกุ้งในเฉพาะขาวัง และปรับน้ำเพิ่มตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว

รูปที่3 แนวคิดการทำขาวังในแปลงนาข้าว โดยไม่ต้องเสียพื้นที่ (กลบกลับได้)
- ระยะปล่อยกุ้งในขาวัง ช่วงเริ่มหว่านข้าว น้ำลึก 0.5-0.8 ม. ตามความลึกของขาวัง (ใช้กุ้งแยกหรือรวมเพศหลังอนุบาลที่ 75-90 วัน)
- ระหว่างรอบการเลี้ยง (3 เดือน) น้ำลึก 0.7-1.1 ม. โดยเพิ่มน้ำตามความสูงของต้นข้าว
- การเลี้ยงระบบเสริมนาข้าว ควรปล่อยบาง ระดับ 8,000-12,000 ตัว/ไร่ (และต้องป้องกันศัตรูกุ้งได้ดี เช่น ปลาต่างๆ)
- อาจใช้อุปกรณ์ (ใบพัด) ดันน้ำเวียนเมื่อจำเป็นเช่น ตอนกลางคืน หรือเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงฉับพลัน (ฝนตกหนักหรืออื่นๆ)
- เลี้ยงโดยหว่านอาหารสำเร็จ (กุ้งก้ามกราม) เสริม เช้า-เย็น (หว่านในร่องน้ำเล็กน้อยและเน้นที่ส่วนลาด)
- ผลผลิตที่ได้ คือกุ้งไซส์ใหญ่ โตเร็ว อัตราแลกเนื้อต่ำระดับ 0.5-0.7 เนื่องจากได้อาหารเสริมจากนาข้าว ทั้งนี้ ขึ้นกับความเหมาะสมของดิน ความหนาแน่นของข้าวที่หว่าน และการจัดการเลี้ยงที่เหมาะสม (เลี้ยงกุ้งระบบเสริม นาข้าว มีโอกาสได้กุ้งตัวผู้ไซส์ใหญ่กว่า 10 ตัว/กก.)
เงื่อนไขการผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อการส่งออก
1. รวมกลุ่มประสานงานใกล้ชิด วางแผนติดต่อระบบตลาดล่วงหน้า ทั้งตลาดส่งออกและตลาดรองรับผลผลิตที่ไม่ตรงตามขนาดส่งออก (ควรรวมเป็นธุรกิจกลุ่ม จากผลิตถึงส่งออก)
2.ผลิตกุ้งคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ โดยปรับระบบการเลี้ยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิต ทั้งการคัดเพศ ความหนาแน่นที่ปล่อยลงเลี้ยง ช่วงเวลาที่เหมาะสมและอื่นๆ
3.ไม่ควรใช้ยา ควรเน้นการจัดการเลี้ยงอย่างดี (อาหารคุณภาพดี ให้อาหารไม่พลาด พื้นไม่เน่า) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาติดเชื้อที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (เน้นไม่ใช้ยาให้กุ้งกิน เพื่อป้องกันยาตกค้างในเนื้อกุ้ง เพราะกุ้งก้ามกราม เป็นกุ้งเกาะพื้น มีโอกาสสัมผัสยาที่ละลายตกค้างที่พื้นดินได้ง่าย และยาบางชนิดต้องใช้ช่วงเวลาในการสลายตัว) หากจำเป็นต้องใช้ยาก็ควรใช้ในช่วงที่แน่ใจว่ามีระยะการหยุดยานานกว่า 1 เดือนขึ้นไป และโปรดอย่าลืมว่า เราไม่ใช้ยาคลอแรมเฟนนิคอลในกระบวนการเพาะเลี้ยงกุ้งโดยเด็ดขาด
4.ปรับเทคนิคการเลี้ยง ให้ได้ผลผลิต คุณภาพ ขนาดตามที่ตลาดต้องการ ให้สามารถได้ตัวเมียขนาดโตขึ้น เพื่อให้ได้ราคากุ้งตัวเมียสูงกว่าเดิม และต้องหาวิธีการผลิตที่ลดต้นทุนลง
หมายเหตุ สำหรับบ่อเลี้ยงดั้งเดิม สามารถปรับปรุงระบบการผลิตได้ตามความเหมาะสม เช่น
-เพิ่มอุปกรณ์เคล้าน้ำ (ใบพัดตีน้ำ หรือใบพัดใต้น้ำ) เพื่อปรับใช้ตามความจำเป็น
-ใช้อวนมุ้งฟ้ากั้นส่วนผิวน้ำ 10-20 ซม. เพื่อบังคับแนวน้ำให้หมุนเวียนและเคล้าทั่วบ่อ
-เน้นการเลี้ยงแบบแยกเพศ (และควรใช้กุ้งที่ผ่านอนุบาลแล้ว 75-90 วัน) โดยสร้างบ่ออนุบาลและใช้งานร่วมกัน
-ใช้อาหารคุณภาพดี ที่สามารถคุมอัตราแลกเนื้อให้ต่ำกว่า 2.0 ได้
-เลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่ ที่คุณภาพสูง ปลอดยา เพื่อให้สามารถส่งออกได้ด้วย
ที่มา : นิตยสารเพื่อนชาวกุ้ง ฉบับ มีนาคม 2545