วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง UTILIZATION OF VERTIVER GRASS FOR RUMINANT DIET



                  บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาวิธีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกสำหรับเป็น
อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาหา
คุณค่าทางอาหารและผลผลิตของหญ้าแฝกที่อายุการตัดต่างกัน โดยใช้หญ้าแฝกพันธุ์ศรีลังกาที่มี
อายุการปลูก 1 ปี ของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดแพร่ ทำการศึกษาระหว่างเดือน ธันวาคม ถึงเดือน
มกราคม อายุการตัดในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาที่ 35 45 และ 55 วัน ในแต่ละอายุการตัดมี 5 ซ้ำ
ผลการทดลองพบว่า การให้ผลผลิตของหญ้าแฝกที่ตัดที่อายุต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ทั้งผลผลิตน้ำหนักสดและเมื่อคิดเป็นน้ำหนักแห้ง ในด้านคุณค่าทาง
โภชนะพบว่าวัตถุแห้ง เถ้า เยื่อใยรวม ADF และพลังงานรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่ไขมันของหญ้าแฝกที่ตัดที่อายุ 35 วันมีค่าสูงที่สุดแต่ไม่
แตกต่างกับที่อายุการตัด 45 ที่อายุการตัด 55 วัน มีค่าไขมันต่ำที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 3.63, 2.63
และ 2.17% ตามลำดับ ส่วนโปรตีนรวมของหญ้าแฝกที่อายุการตัดที่ 35 วันมีค่าสูงที่สุด รองลงมา
คือการตัดที่อายุ 45 และ 55 วัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 7.42, 5.22 และ 5.99 % ตามลำดับ
การทดลองที่ 2 ศึกษาการประเมินคุณภาพหญ้าแฝกหมักร่วมกับสารเสริมต่างชนิดกัน
โดยใช้หญ้าแฝกที่อายุการตัด 35 วัน ทำการหมักเป็นระยะเวลา 20 วัน โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
การทดลองตามชนิดของสารเสริม คือ กลุ่มที่ 1 หญ้าแฝกหมัก 100% (ไม่มีการเสริมสารเสริม)
กลุ่มที่ 2 หญ้าแฝก 80% + กากน้ำตาล10% + น้ำ10% กลุ่มที่ 3 หญ้าแฝก 80% + รำ 10% + น้ำ
10% กลุ่มที่ 4 หญ้าแฝก 85% + formic acid 5% + น้ำ 10% และกลุ่มที่ 5 หญ้าแฝก 80% +
EM 10% + น้ำ 10% ผลการศึกษาพบว่า การประเมินคุณภาพหญ้าแฝกหมักโดยใช้ประสาทสัมผัส
นั้น หญ้าแฝกหมักร่วมกับ EM 10% + น้ำ 10% มีคุณภาพดีที่สุด (p<0.05) โดยมีผลการประเมิน
เท่ากับ 15.38 รองลงมาคือหญ้าแฝกหมักร่วมกับ Formic acid 5% + น้ำ 10%, หญ้าแฝกหมัก

ร่วมกับกากน้ำตาล 10% + น้ำ10% และ หญ้าแฝกหมักร่วมกับรำ 10% + น้ำ 10% ซึ่งมีผลการ
ประเมินเท่ากับ 14.65, 14.43 และ 14.33 ตามลำดับ ในขณะที่หญ้าแฝกหมักที่ไม่มีการเสริมสาร
เสริม มีคะแนนคุณภาพโดยรวมต่ำที่สุด (p<0.05) คือมีค่าเท่ากับ 12.68 เมื่อทำการวัดค่า pH ของ
หญ้าหมักทั้ง 5 กลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยหญ้าแฝก
หมักร่วมกับกากน้ำตาลมีค่าต่ำที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.36 รองลงมาคือหญ้าแฝกหมักร่วมกับ EM
10% + น้ำ 10%, หญ้าแฝกหมักร่วมกับรำละเอียด 10% + น้ำ 10%, หญ้าแฝกหมักที่ไม่มีการ
เสริม (ควบคุม) และหญ้าแฝกหมักร่วมกับ Formic acid 5% + น้ำ 10% ซึ่งมีค่า pH เท่ากับ 4.71,
4.77, 5.64 และ 5.79 ตามลำดับ และเมื่อทำการวิเคราะห์หาปริมาณกรดไขมันระเหยได้ ในส่วน
ของกรดแลคติกนั้น พบว่าหญ้าแฝกหมักร่วมกับกากน้ำตาล 10% + น้ำ 10% มีปริมาณของกรดแลกติ
กสูงที่สุดเท่ากับ 2.04 เปอร์เซ็นต์ (p<0.05) รองลงมาได้แก่หญ้าแฝกหมักร่วมกับรำละเอียด 10%+
น้ำ10%, หญ้าแฝกหมักร่วมกับ EM 10%+ น้ำ 10%, หญ้าแฝกหมักไม่เสริมสารเสริมและหญ้า
แฝกหมักร่วมกับ Formic acid 10% +น้ำ10% โดยมีปริมาณกรดแลกติกเท่ากับ 1.74, 1.30, 1.27
และ 1.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อคิดค่าคะแนนคุณภาพของหญ้าแฝกหมักทั้ง 5 กลุ่ม พบว่า ไม่
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนะนั้น
พบว่า วัตถุแห้ง , ไขมัน, NDF และค่าพลังงานหยาบ ของหญ้าแฝกหมักทุกๆ สูตรไม่มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่ในส่วนของเถ้านั้น พบว่าหญ้าแฝกหมักร่วมกับ
กากน้ำตาล 10% + น้ำ 10% มีเถ้าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 7.17 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดีไม่มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับหญ้าแฝกหมักร่วมกับรำละเอียด 10% + น้ำ
10% ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.68 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่หญ้าแฝกหมักไม่เสริมสารเสริม, หญ้าแฝกหมัก
ร่วมกับ EM 10% + น้ำ10% และหญ้าแฝกหมักร่วมกับ Formic acid 5% + น้ำ 10% มีปริมาณ
เถ้าเท่ากับ 5.63, 5.17 และ 4.82 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในส่วนของเยื่อใยรวมนั้นพบว่า หญ้าแฝก
หมักร่วมกับ Formic acid 5% + น้ำ 10% และ หญ้าแฝกหมักไม่เสริมสารเสริมมีเปอร์เซ็นต์เยื่อใย
สูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือมีค่าเท่ากับ 32.52 และ 31.97 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มี
ความแตกต่างกับหญ้าแฝกหมักร่วมกับ EM 10% + น้ำ10% ซึ่งมีค่าเท่ากับ 31.66 เปอร์เซ็นต์
รองลงมาคือหญ้าแฝกหมักร่วมกับรำละเอียด 10% + น้ำ 10% ซึ่งมีค่าเท่ากับ 28.82 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่หญ้าแฝกหมักร่วมกับกากน้ำตาล 10% + น้ำ 10% มีค่าต่ำที่สุดคือมีค่าเท่ากับ 28.53
เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของเปอร์เซ็นต์โปรตีนรวมของหญ้าแฝกหมักร่วมกับ รำละเอียด 10% + น้ำ
10% มีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีค่าเท่ากับ 8.29 เปอร์เซ็นต์
รองลงมาคือหญ้าแฝกหมักร่วมกับ Formic acid 5% + น้ำ 10%, หญ้าแฝกหมักร่วมกับ
กากน้ำตาล 10% + น้ำ 10%, หญ้าแฝกหมักไม่เสริมสารเสริมและหญ้าแฝกหมักร่วม EM 10% +

น้ำ10% ซึ่งมีค่าเท่ากับ 8.12, 7.51, 7.24 และ 6.96 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์ ADF ของ
หญ้าแฝกหมักร่วมกับกากน้ำตาล 10% + น้ำ 10% มีค่าต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p<0.05) โดยมีค่าเท่ากับ 40.01 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือหญ้าแฝกหมักร่วมกับ Formic acid 5%
+ น้ำ 10%, หญ้าแฝกหมักไม่เสริมสารเสริม (ควบคุม), หญ้าแฝกหมักร่วม EM 10% + น้ำ10%
และหญ้าแฝกหมักร่วมกับรำละเอียด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 43.29, 49.94, 52.12 และ 55.31 เปอร์เซ็นต์
ตามลำดับ
การทดลองที่ 3 การศึกษาการย่อยได้ของหญ้าแฝกสด และหญ้าแฝกหมักในแพะ โดยใช้
หญ้าแฝกสดที่อายุการตัด 35 วัน มีคุณค่าทางโภชนะดังนี้ เปอร์เซ็นต์ของวัตถุแห้ง เถ้า เยื่อใย
ไขมัน โปรตีน NFC NDF และ ADF มีค่าดังนี้ 24.33, 7.54, 28.90, 3.53, 7.81, 19.57, 69.09 และ
41.42 ตามลำดับ และเมื่อนำไปประเมินค่าการย่อยได้พบว่า แพะกินหญ้าแฝกสดได้ 1.13% ของ
น้ำหนักตัว หญ้าแฝกหมักมีการย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีน ไขมัน เยื่อใย NFC NDF และ ADF มี
ค่าเท่ากับ 54.52, 58.94, 58.22, 48.07, 73.86, 48.91และ 45.75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมี
พลังงานที่ย่อยได้ทั้งหมด (Total digestible nutrient; TDN) มีค่าเท่ากับ 57.46
หญ้าแฝกหมักร่วมกับรำละเอียดที่นำมาใช้ในการประเมินการย่อยได้ครั้งนี้มี pH เท่ากับ
4.1 ปริมาณกรดแลคติก อะซิติก และบิวทีริกนั้นมีค่าเท่ากับ 2.34, 0.47 และ 0.20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ
คิดเป็นคะแนนคุณภาพมีค่า 58 คะแนน มีคุณค่าทางโภชนะ ได้แก่ วัตถุแห้ง , โปรตีน, ไขมัน, เยื่อ
ใย, เถ้า, NFC, NDF และ ADF เท่ากับ 27.24, 10.59, 8.69, 24.01, 6.29, 18.34, 56.09 และ
31.13 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำไปใช้ทดสอบการยอมรับของแพะโดยให้ร่วมกับฟางข้าว
พบว่าแพะสามารถกินหญ้าแฝกหมักผสมฟางข้าวได้ 1.25% ของน้ำหนักตัว เมื่อทำการประเมิน
การย่อยได้พบว่าหญ้าแฝกหมักมีค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีน ไขมัน เยื่อใย NFC NDF และ
ADF มีค่าเท่ากับ 69.01, 64.75, 77.81, 74.67, 72.69, 61.95 และ 58.36 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
และมีค่า TDN เท่ากับ 70.15 เปอร์เซ็นต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น