วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสำเร็จของงานวิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง


หลายท่านไม่ทราบว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมากที่สุดในโลกตลอดมา
ไม่ต่ำกว่า 50 ปี เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่จากความบังเอิญ แต่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่เกิด
จากมีนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการวิจัย มีทีมคณะวิจัยที่มุ่งมั่น มีหน่วยงานภาคเอกชนที่สนับสนุนการ
วิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย ตลอดจนมีเกษตรกรผู้ขยันและภาคอุตสาหกรรมสามารถแปรรูปมัน
สำปะหลังตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งจะขอกล่าวดังนี้
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางภาคใต้ของไทยจากการรายงานของทวน คมกฤส ในหนังสือ
กสิกร ปี พ.ศ.2480 พบว่า มีการปลูกมันสำปะหลังที่จังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่หลายพันไร่ เพื่อผลิตแป้ง
ส่งออกไปจำหน่ายยังสิงคโปร์และปีนังก่อนส่งมาจำหน่ายที่กรุงเทพอีกต่อหนึ่ง ในขณะนั้นเริ่มมีความ
พยายามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่พยายามหาพันธุ์ที่ดีโดยนำพันธุ์จากประเทศมาเลเซีย (มาลายู
ในขณะนั้น) และฟิลิปปินส์มาคัดเลือก แต่ไม่พบการรายงานความสำเร็จ
การค้ามันสำปะหลังเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการปลูกเป็นการค้าในภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรีและ
ระยอง สภาพพื้นที่ในเขตนี้สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน ดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่มี
แม่น้ำใหญ่ ไม่เหมาะกับการทำนา แต่มันสำปะหลังสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีการตั้งโรงงานผลิตแป้ง
มันสำปะหลังเพื่อผลิตแป้ง เริ่มปรากฏสถิติการปลูกมันสำปะหลังเป็นทางการในจังหวัดชลบุรีตั้งแต่ปี
พ.ศ.2492 ที่มีพื้นที่ปลูก 102,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 307,000 ตัน เพื่อผลิตแป้งไปจำหน่ายยัง
ต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเริ่มมีการผลิตมันเส้นและ
มันอัดเม็ดสำหรับเป็นอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายไปยังประเทศแถบยุโรปตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2501 เป็นต้นมา
ความต้องการของตลาดยุโรปได้ขยายมากขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของพื้นที่ปลูกจาก 2 แสนไร่
ในปี 2499 เป็นสูงสุดคือ 9.2 ล้านไร่ในปี 2528 พื้นที่ปลูกได้ขยายจากจังหวัดชลบุรีและระยองไปยัง
ภาคต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตก และภาคเหนือ (เจริญศักดิ์, 2532) รวมพื้นที่ปลูก
มันสำปะหลังในปัจจุบันทั้งหมด 45 จังหวัด (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ; www.oae.go.th,
2008)
ในระยะแรกมีการตั้งสถานีทดลองพืชไร่ระยอง ของกรมวิชาการเกษตร และสถานีฝึกงานนิสิต
คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มมีการวิจัยทางด้านดินปุ๋ยตั้งแต่ พ.ศ.2498 และเริ่มมีการนำ
พันธุ์จากประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2508 โดยกรมวิชาการเกษตร จากเวอร์จินไอร์แลนด์ โดยสมาคม
การค้ามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในปี 2525 (พีระศักดิ์ และเจริญศักดิ์, 2529)
ประเทศไทยครองตลาดเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตลอดมา ในอดีตเป็นสินค้าด้าน
การเกษตรเป็นอันดับสองรองจากข้าว และเป็นอันดับหนึ่งในปี 2521 แต่ความสำเร็จโดยสรุปเกิดจาก
4 ประการคือ
1/ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1. การตลาด ภาคเอกชนสามารถสนองความต้องการของตลาดอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าโรงงานแป้ง
โรงงานมันเส้น และโรงงานมันเม็ด
2. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปราศจากโรคและแมลงที่สำคัญดังทวีปอื่น
3. ประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีพันธุ์ระยอง 1 และความรู้พื้นฐานทางด้านการ
เพาะปลูก ดิน-ปุ๋ย
4. เกษตรกรมีความชำนาญและมีความขยันหมั่นเพียร
ความสำเร็จของงานวิจัยและส่งเสริมวิชาการ
ในปัจจุบันผลผลิตมันสำปะหลังของไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก ในอดีตผลผลิตเฉลี่ยของ
ไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2510 – 2540 เฉลี่ยผลผลิตได้ไร่ละ 2.31 ตัน/ไร่ และใน 10 ปีหลัง
ผลผลิตเฉลี่ยได้เพิ่มเป็น 3.66 ตัน/ไร่ ในปี 2550 ขณะที่ปีดังกล่าวผลผลิตเฉลี่ยทั่วโลกเพียง 1.70
ตัน/ไร่ จากการวิเคราะห์พบว่า ผลผลิตมันสำปะหลังไทยที่เพิ่มขึ้นนี้ครึ่งหนึ่งเชื่อว่ามาจากพันธุ์ที่ดี และ
อีกครึ่งหนึ่งมาจากปุ๋ยและการเขตกรรม (Rojanaridpiched and Vichukit, 2008)
ในแง่การแปรรูปของโรงงาน เนื่องจากหัวสดของมันสำปะหลังรุ่นใหม่มีแป้งในหัวสดสูงขึ้นมาก
ทำให้การผลิตแป้งและมันเส้นได้มากขึ้นคือ
ในอดีต
แป้ง 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 4.75 กิโลกรัม
มันเส้น 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 2.35 กิโลกรัม
ปัจจุบัน
แป้ง 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 4.20 กิโลกรัม
มันเส้น 1 กิโลกรัม ใช้หัวสด 2.10 กิโลกรัม
ด้วยประสิทธิภาพในการผลิตวัตถุดิบและแปรรูป ทำให้
1. การปลูกมันสำปะหลังยังคงเป็นอาชีพทางเลือกที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย ทั้งๆ ที่ตลาด
ส่วนยุโรปที่เป็นตลาดที่สำคัญในอดีตมีความต้องการมันสำปะหลังใช้เลี้ยงสัตว์ลดลง เนื่องจากมีการ
ปฏิรูปการเกษตรในช่วงปี 2536 – 2539 ที่ลดการอุดหนุนสินค้าธัญพืชลง ทำให้ผลิตภัณฑ์มัน
สำปะหลังไทยราคาไม่สามารถแข่งขันเพื่อเป็นอาหารสัตว์ในยุโรปได้ ขณะนั้นนักธุรกิจไทยต่างกังวลว่า
มันสำปะหลังไทยจะหมดอนาคตหากไม่สามารถเพิ่มผลผลิต/ไร่ และไม่ขยายตลาดอื่นได้ แต่ไทยเราก็
ทำสำเร็จ
2. ตลาดต่างประเทศ แป้งมันสำปะหลังและแป้งแปรรูปจากประเทศไทยกว่าปีละ 2 ล้านตัน
ออกไปขายทั่วโลกแข่งกับแป้งข้าวโพดจากสหรัฐอเมริกา ที่มีความก้าวหน้าทางการเกษตรและ
อุตสาหกรรมมากที่สุดในโลก
3. สามารถสนองความต้องการภายในประเทศ มีการใช้แป้งในอุตสาหกรรมกระดาษ ไม้อัด
อาหาร ทอผ้า ปีละกว่าล้านตัน และมันเส้นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์กว่าล้านตันเช่นกัน และ
ล่าสุดอุตสาหกรรมเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิง จะใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลัก
เบื้องหลังความสำเร็จคืองานวิจัยและการส่งเสริมเผยแพร่วิชาการ
งานวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกิดจากภาครัฐ องค์กรนานาชาติ และภาคเอกชนดังสรุป
1. ภาครัฐ มี 2 หน่วยงานหลักคือ
1.1 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่วิจัยด้านดิน – ปุ๋ย การเขต
กรรมพืชไร่ และพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 90 ระยอง 5
1.2 คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาผลิตผล
การเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร วิจัยพื้นฐานทางด้านดินปุ๋ย การเขตกรรม การแปรรูป และพันธุ์
เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 ห้วยบง 80
1.3 กรมส่งเสริมการเกษตร วิจัยและส่งเสริมในระดับไร่นา
2. สถาบันวิจัยเกษตรนานาชาติ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอุตสาหกรรมและมูลนิธิการกุศลต่าง ๆ กังวลว่า
ประเทศด้อยพัฒนาจะผลิตอาหารไม่พอเพียง จึงมีการตั้งสถาบันวิจัยการเกษตรนานาชาติขึ้น เพื่อ
สนับสนุนการวิจัยทางด้านการเกษตร และพัฒนาคน สำหรับมันสำปะหลังมีการตั้งศูนย์เกษตรเขตร้อน
นานาชาติ (Centro Internacional de Agricultura Tropiocal, CIAT) ตั้งที่เมืองคาลี (Cali) ประเทศ
โคลอมเบีย (Colombia) เมื่อปี 2509 (พีระศักดิ์ และเจริญศักดิ์, 2529) ศูนย์นานาชาติแห่งนี้
ช่วยเหลือประเทศไทยคือ
(1) การพัฒนานักวิจัย ในช่วงปี 2518 – 2545 CIAT ได้ให้ทุนนักวิจัยไปฝึกงานที่
ประเทศโคลอมเบียรวม 44 คน
(2) การพัฒนาพันธุ์ร่วมกับ CIAT และประเทศไทย ได้ร่วมมือกันปรับปรุงพันธุ์มัน
สำปะหลัง สำหรับภูมิภาคนี้เป็นเวลาถึง 15 ปี ตั้งแต่ปี 2525 – 2541
(3) CIAT เป็นแหล่งข้อมูล และเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังของประเทศไทย
จำนวนตัวเงินที่ CIAT ลงทุนไปคาดว่าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
3. ภาคเอกชน มีการจัดตั้งมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2533
มูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น